วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ อาหาร

อาหารเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ อาหารหลายหลากชนิด ก็มีทั้งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และบ้างก็เป็นโทษมีคำกล่าวว่า
"คุณจะเป็น เช่นอาหารที่รับประทาน"  คือ ถ้ากินอาหารดีมีประโยชน์ ก็ทำให้สุขภาพดี ปลอดโรค หากรับประทานอาหารไม่ดี เช่น อาหารที่มีสารปนเปื้อนอาหารขยะ ก็จะพลอยให้ร่างกาย เจ็บป่วยไปด้วย การรับประทานอาหารดีมีประโยชน์ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย - ในแต่ละวันเราต้องรับประทานอาหาร เพื่อให้ร่างกายจะได้เจริญเติบโตและมีความแข็งแรง และต้องรับประทานอาหารอย่างน้อยวันละ 3 มื้อ และควรรับประทานอาหารเฉพาะอาหารทีมีประโยชน์ต่อร่างกาย และต้องเลือกรับประทาน
ให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อ อาหารหลัก 5 หมู่ ที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละมื้อ ก็มีประโยชน์มีคุณค่าแตกต่างกันออกไปดังนี้
1. เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว
อาหารจำพวกนี้จะช่วยในการสร้างเสริมกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายเราเจริญเติบโตและ
มีความแข็งแรง
2. ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน
อาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่ คนจะรับประทานทุกวัน โดยเฉพาะข้าวเพราะคนไทยรับ
ประทานข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารชนิดนี้จะให้พลังงานแก่ร่างกายเพื่อใช้ในการทำงาน ใช้ในการเรียนและใช้ในการเล่น
3. ผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ เช่น คะน้า ผักบุ้ง เป็นต
อาหารชนิดนี้จะช่วยให้เราแข็งแรง ไม่เป็นโรคง่ายและที่สำคัญจะทำให้เราท้องไม่ผูก
คนที่รับประทานผักเป็นประจำ จะทำให้ระบบขับถ่ายดี
4. ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ส้ม กล้วย มะม่วง มะละกอ เป็นต้น
อาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่รับประทานง่ายและก็หารับประทานได้ง่าย ราคาก็ไม่แพง
ผลไม้จะช่วยบำรุงสุขภาพของเรา ทำให้นัยย์ตาและผิวหนังสดชื่นไม่แห้ง ป้องกันโรคต่างๆ และที่สำคัญช่วยทำให้ท้องไม่ผูก
5. ไขมันจากพืชและสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว และเนย เป็นต้น
อาหารชนิดนี้จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของเรา

สาระแนวๆ





อาหารภาคใต้

อาหารภาคใต้

 อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก  อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
           เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปูทะเล กุ้ง หอย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา นิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดู
           อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น  อาหารไทยภาคใต้
          อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น


ตัวอย่างอาหารภาคใต้
1.แกงส้มออกดิบ (คูน)




   แกงส้มออกดิบ มีส่วนประกอบของเครื่องปรุงส่วนใหญ่ออกไปทางรสเผ็ดร้อน เปรี้ยว สรรพคุณช่วยในการขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร มะนาวและส้มแขกมีรสเปรี้ยว สรรพคุณช่วยแก้ไอ ขับเสมหะและมีวิตามินซีสูง


2.ข้าวยำ

            ข้าวยำปักษ์ใต้ เป็นอาหารที่เชื่อว่าทุกคนต้องเคยลิ้มลองกันมาบ้างแล้ว เพราะเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวใต้จนดูเหมือนจะกลายเป็นสัญลักษณ์อาหารปักษ์ใต้อีกเมนูหนึ่ง
              ข้าวยำของชาวใต้ จะอร่อยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำบูดูเป็นสำคัญ น้ำบูดูมีรสเค็ม แหล่งที่มีการทำน้ำบูดูมากคือจังหวัดยะลาและปัตตานี เวลานำมาใส่ข้าวยำต้องเอาน้ำบูดูมาปรุงรสก่อน จะออกรสหวานเล็กน้อยแล้วแต่ความชอบ น้ำบูดูของชาวใต้มีกลิ่นคาวของปลาเพราะทำมาจากปลา กลิ่นคล้ายของทางภาคอีสาน แต่กลิ่นน้ำบูดูจะรุนแรงน้อยกว่าเนื่องจากน้ำบูดูมีรสเค็ม ชาวใต้จึงนำมาใส่อาหารแทนน้ำปลาข้าวยำปักษ์ใต้ที่ปรุงสำเร็จแล้วจะออกรสหลายรสด้วยกัน ได้แก่ รสมันของมะพร้าวรสเปรี้ยวจากมะม่วงดิบและน้ำมะนาว รสเค็มหวานจากน้ำบูดู รสเผ็ดของพริกป่น เรียกว่าเป็นอาหารที่บำรุงธาตุก็ไม่ผิดนัก

4.น้ำพริกระกำ

     น้ำพริกระกำนับเป็นอาหารที่นิยมอย่างหนึ่งในช่วงฤดูร้อน ขณะที่มะนาวขาดแคลน ระกำซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองก็ออกผล คนใต้จึงนิยมประยุกต์ใช้รสเปรี้ยวจากระกำแทนมะนาว นำมาทำน้ำพริกรับประทานกับผักต่าง ๆ น้ำพริกระกำจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะนอกจากจะมีรสชาติเปรี้ยวเค็มหวานอย่างกลมกล่อมแล้ว ยังมีกลิ่นหอมของระกำเจืออยู่ด้วย คนใต้นิยมรับประทานคู่กับลูกเนียงซึ่งมีกลิ่นฉุน เมื่อรับประทานคู่กันยิ่งทำให้เพิ่มรสชาติในการรับประทานยิ่งขึ้น นับเป็นของคู่กันเลยทีเดียว 
            น้ำพริกระกำ เป็นน้ำพริกที่เพิ่มรสชาติของผักเหนาะให้รับประทานได้มากยิ่งขึ้น การรับประทานผักมาก ๆ และหลายชนิด ช่วยให้ร่างกายได้คุณค่าทางอาหารรวมตลอดถึงวิตามินครบถ้วน

5.ไก่ต้มขมิ้น
ไก่ต้มขมิ้น เป็นอาหารที่มีรสเปรี้ยวนำ เหมาะสำหรับคนธาตุน้ำ เป็นหวัดเรื้อรัง รับประทานเผ็ด ๆ แก้ไอ ขับเสมหะ เพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย

6.ลูกปลาคั่วเกลือ

    เนื่อง จากชีวิตของคนภาคใต้ผูกพันอยู่กับทะเล เมื่ออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกินกว่าจะรับประทานให้หมดในหนึ่งมื้อ คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหารโดยการหมักกับเกลือ หรือตากแห้งเพื่อเก็บไว้รับประทานได้นาน ๆ ลูกปลาคั่วเกลือเป็นอาหารปลาประเภทหนึ่งที่นิยมรับประทานกันโดยใช้ลูกปลาเล็กปลาน้อยที่หาได้จากทะเล นำมาผสมเครื่องปรุงและคั่วเกลือจนแห้ง ลูกปลาที่นิยมนำมาคั่วคือลูกปลากะตักหรือลูกปลาไส้ตันลูกปลาคั่วเกลือ เป็นอาหารที่ให้แคลเซียมสูงมาก จากปลาเล็กปลาน้อยผสมรวมกับ
เครื่องปรุงก็จะช่วยเพิ่มรสชาติ กระตุ้นให้เจริญอาหารได้

หน้าแรก





                                       
                                           คลิ๊ก ...                                                         คลิ๊ก ...



คลิ๊ก ...                                                               คลิ๊ก ...




สี่ภาคน่ารู้

  มาเริ่มต้นกันด้วย อาหาร


                                                                   ภาค  เหนือ  คลิ๊ก 
                                        

                      ภาค  กลาง  คลิ๊ก


                                                                   ภาค  ใต้  คลิ๊ก


                           
                                                                    ภาค อิสาน  คลิ๊ก




ใต้ ลูกปลาคั่วเกลือ

                                                เครื่องปรุง
                    ลูกปลา                                              1 ถ้วย
                    หอมแดงทุบ                                       3 หัว
                    กระเทียมทุบ                                       1 หัว
                    ตะไคร้หั่นท่อนทุบ                               3 ต้น
                    ขมิ้นหั่นยาว 2 ซม.ทุบ                          1 ชิ้น
                    เกลือป่น                                             2 ช้อนชา
                    น้ำ                                                     ½ ถ้วย

วิธีทำ
ล้างปลา ตัดหัวและควักไส้ออก เคล้าเกลือล้างให้สะอาด
ใส่น้ำมันในกระทะ ตั้งไฟพอเดือด ใส่ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ขมิ้น เดือดอีกครั้ง ใส่เกลือ ลูกปลา คั่วเบาๆ จนน้ำแห้งและปลาสุก ปิดไฟ ยกลง ตักใส่จาน เสิร์ฟ 


อบคุณข้อมูลจากhttp://goldkitchenmenu.blogspot.com/2013/04/blog-post_4098.html

อีสาน ลาบ

ลาบหมูสุโค๊ยยย



ส่วนผสมลาบหมู

เนื้อหมูส่วนสันในสับ  2  ถ้วย

น้ำมะนาว  6   ช้อนโต๊ะ

ตับหมูต้มหรือนึ่งสุกหั่นชิ้นบาง  100  กรัม

หอมแดงซอย  2  ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา  2   ช้อนโต๊ะ

พริกขี้หนูแห้งคั่วป่น   1/2   ช้อนชา

ข้าวคั่วป่นหรือขนมปังอบป่น  2  ช้อนโต๊ะ

ต้นหอมหั่นท่อนสั้น  2  ช้อนโต๊ะ

ผักชีหั่น   1    ช้อนโต๊ะ

ใบสะระแหน่   1/2   ถ้วย

พริกขี้หนูแห้งทอด   4  เม็ด

ผักกาดขาวสำหรับรองถ้วย

ผักสด เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักชี ต้นหอม


 วิธีทำอาหาร ลาบหมู

1. ขยำหมูสับกับมะนาว 4 ช้อนโต๊ะในชามให้เข้ากันดี จึงบีบเอาน้ำออก
ใส่ถ้วย เทน้ำหมูที่บีบใส่ลงในกระทะตั้งไฟกลางพอเดือด ใส่หมูสับ 
ผัดรวนพอสุก ปิดไฟตักใส่อ่างผสมใส่ตับหมู ตามด้วยหอมแดง 
(แบ่งไว้โรยหน้าเล็กน้อย) เคล้าพอทั่ว
2. ปรุงรสด้วยน้ำมะนาวที่เหลือน้ำปลา ใส่พริกป่น ข้าวคั่วหรือขนมปังป่น 
เคล้าให้เข้ากัน ใส่ต้นหอมผักชีและใบสะระแหน่ เคล้าพอทั่ว
3. ตักใส่ถ้วยที่รองด้วยผักกาดขาวโรยหอมแดงซอยที่แบ่งไว้ 
พริกขี้หนูแห้งทอด วางผักสดชนิดต่าง ๆ เสิร์ฟ