วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ อาหาร

อาหารเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ อาหารหลายหลากชนิด ก็มีทั้งที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และบ้างก็เป็นโทษมีคำกล่าวว่า
"คุณจะเป็น เช่นอาหารที่รับประทาน"  คือ ถ้ากินอาหารดีมีประโยชน์ ก็ทำให้สุขภาพดี ปลอดโรค หากรับประทานอาหารไม่ดี เช่น อาหารที่มีสารปนเปื้อนอาหารขยะ ก็จะพลอยให้ร่างกาย เจ็บป่วยไปด้วย การรับประทานอาหารดีมีประโยชน์ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย - ในแต่ละวันเราต้องรับประทานอาหาร เพื่อให้ร่างกายจะได้เจริญเติบโตและมีความแข็งแรง และต้องรับประทานอาหารอย่างน้อยวันละ 3 มื้อ และควรรับประทานอาหารเฉพาะอาหารทีมีประโยชน์ต่อร่างกาย และต้องเลือกรับประทาน
ให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละมื้อ อาหารหลัก 5 หมู่ ที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละมื้อ ก็มีประโยชน์มีคุณค่าแตกต่างกันออกไปดังนี้
1. เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว
อาหารจำพวกนี้จะช่วยในการสร้างเสริมกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายเราเจริญเติบโตและ
มีความแข็งแรง
2. ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน
อาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่ คนจะรับประทานทุกวัน โดยเฉพาะข้าวเพราะคนไทยรับ
ประทานข้าวเป็นอาหารหลัก อาหารชนิดนี้จะให้พลังงานแก่ร่างกายเพื่อใช้ในการทำงาน ใช้ในการเรียนและใช้ในการเล่น
3. ผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ เช่น คะน้า ผักบุ้ง เป็นต
อาหารชนิดนี้จะช่วยให้เราแข็งแรง ไม่เป็นโรคง่ายและที่สำคัญจะทำให้เราท้องไม่ผูก
คนที่รับประทานผักเป็นประจำ จะทำให้ระบบขับถ่ายดี
4. ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ส้ม กล้วย มะม่วง มะละกอ เป็นต้น
อาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่รับประทานง่ายและก็หารับประทานได้ง่าย ราคาก็ไม่แพง
ผลไม้จะช่วยบำรุงสุขภาพของเรา ทำให้นัยย์ตาและผิวหนังสดชื่นไม่แห้ง ป้องกันโรคต่างๆ และที่สำคัญช่วยทำให้ท้องไม่ผูก
5. ไขมันจากพืชและสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว และเนย เป็นต้น
อาหารชนิดนี้จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของเรา

สาระแนวๆ





อาหารภาคใต้

อาหารภาคใต้

 อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรมของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก  อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้านมีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้มจึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย
           เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงเป็นอาหารส่วนมากนิยมสัตว์ทะเล เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปูทะเล กุ้ง หอย ซึ่งหาได้ในท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา นิยมใส่ขมิ้นปรุงอาหารเพื่อแก้รสคาว เครื่องจิ้มคือน้ำบูดู
           อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น  อาหารไทยภาคใต้
          อาหารของภาคใต้จะมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่นๆ แกงที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ คือ แกงเหลือง แกงไตปลา เครื่องจิ้มก็คือ น้ำบูดู และชาวใต้ยังนิยมนำน้ำบูดูมาคลุกข้าวเรียกว่า "ข้าวยำ" มีรสเค็มนำและมีผักสดหลายชนิดประกอบ อาหารทะเลสดของภาคใต้มีมากมาย ได้แก่ ปลาหอยนางรม และกุ้งมังกร เป็นต้น


ตัวอย่างอาหารภาคใต้
1.แกงส้มออกดิบ (คูน)




   แกงส้มออกดิบ มีส่วนประกอบของเครื่องปรุงส่วนใหญ่ออกไปทางรสเผ็ดร้อน เปรี้ยว สรรพคุณช่วยในการขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร มะนาวและส้มแขกมีรสเปรี้ยว สรรพคุณช่วยแก้ไอ ขับเสมหะและมีวิตามินซีสูง


2.ข้าวยำ

            ข้าวยำปักษ์ใต้ เป็นอาหารที่เชื่อว่าทุกคนต้องเคยลิ้มลองกันมาบ้างแล้ว เพราะเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวใต้จนดูเหมือนจะกลายเป็นสัญลักษณ์อาหารปักษ์ใต้อีกเมนูหนึ่ง
              ข้าวยำของชาวใต้ จะอร่อยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับน้ำบูดูเป็นสำคัญ น้ำบูดูมีรสเค็ม แหล่งที่มีการทำน้ำบูดูมากคือจังหวัดยะลาและปัตตานี เวลานำมาใส่ข้าวยำต้องเอาน้ำบูดูมาปรุงรสก่อน จะออกรสหวานเล็กน้อยแล้วแต่ความชอบ น้ำบูดูของชาวใต้มีกลิ่นคาวของปลาเพราะทำมาจากปลา กลิ่นคล้ายของทางภาคอีสาน แต่กลิ่นน้ำบูดูจะรุนแรงน้อยกว่าเนื่องจากน้ำบูดูมีรสเค็ม ชาวใต้จึงนำมาใส่อาหารแทนน้ำปลาข้าวยำปักษ์ใต้ที่ปรุงสำเร็จแล้วจะออกรสหลายรสด้วยกัน ได้แก่ รสมันของมะพร้าวรสเปรี้ยวจากมะม่วงดิบและน้ำมะนาว รสเค็มหวานจากน้ำบูดู รสเผ็ดของพริกป่น เรียกว่าเป็นอาหารที่บำรุงธาตุก็ไม่ผิดนัก

4.น้ำพริกระกำ

     น้ำพริกระกำนับเป็นอาหารที่นิยมอย่างหนึ่งในช่วงฤดูร้อน ขณะที่มะนาวขาดแคลน ระกำซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองก็ออกผล คนใต้จึงนิยมประยุกต์ใช้รสเปรี้ยวจากระกำแทนมะนาว นำมาทำน้ำพริกรับประทานกับผักต่าง ๆ น้ำพริกระกำจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะนอกจากจะมีรสชาติเปรี้ยวเค็มหวานอย่างกลมกล่อมแล้ว ยังมีกลิ่นหอมของระกำเจืออยู่ด้วย คนใต้นิยมรับประทานคู่กับลูกเนียงซึ่งมีกลิ่นฉุน เมื่อรับประทานคู่กันยิ่งทำให้เพิ่มรสชาติในการรับประทานยิ่งขึ้น นับเป็นของคู่กันเลยทีเดียว 
            น้ำพริกระกำ เป็นน้ำพริกที่เพิ่มรสชาติของผักเหนาะให้รับประทานได้มากยิ่งขึ้น การรับประทานผักมาก ๆ และหลายชนิด ช่วยให้ร่างกายได้คุณค่าทางอาหารรวมตลอดถึงวิตามินครบถ้วน

5.ไก่ต้มขมิ้น
ไก่ต้มขมิ้น เป็นอาหารที่มีรสเปรี้ยวนำ เหมาะสำหรับคนธาตุน้ำ เป็นหวัดเรื้อรัง รับประทานเผ็ด ๆ แก้ไอ ขับเสมหะ เพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย

6.ลูกปลาคั่วเกลือ

    เนื่อง จากชีวิตของคนภาคใต้ผูกพันอยู่กับทะเล เมื่ออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกินกว่าจะรับประทานให้หมดในหนึ่งมื้อ คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหารโดยการหมักกับเกลือ หรือตากแห้งเพื่อเก็บไว้รับประทานได้นาน ๆ ลูกปลาคั่วเกลือเป็นอาหารปลาประเภทหนึ่งที่นิยมรับประทานกันโดยใช้ลูกปลาเล็กปลาน้อยที่หาได้จากทะเล นำมาผสมเครื่องปรุงและคั่วเกลือจนแห้ง ลูกปลาที่นิยมนำมาคั่วคือลูกปลากะตักหรือลูกปลาไส้ตันลูกปลาคั่วเกลือ เป็นอาหารที่ให้แคลเซียมสูงมาก จากปลาเล็กปลาน้อยผสมรวมกับ
เครื่องปรุงก็จะช่วยเพิ่มรสชาติ กระตุ้นให้เจริญอาหารได้

หน้าแรก





                                       
                                           คลิ๊ก ...                                                         คลิ๊ก ...



คลิ๊ก ...                                                               คลิ๊ก ...




สี่ภาคน่ารู้

  มาเริ่มต้นกันด้วย อาหาร


                                                                   ภาค  เหนือ  คลิ๊ก 
                                        

                      ภาค  กลาง  คลิ๊ก


                                                                   ภาค  ใต้  คลิ๊ก


                           
                                                                    ภาค อิสาน  คลิ๊ก




ใต้ ลูกปลาคั่วเกลือ

                                                เครื่องปรุง
                    ลูกปลา                                              1 ถ้วย
                    หอมแดงทุบ                                       3 หัว
                    กระเทียมทุบ                                       1 หัว
                    ตะไคร้หั่นท่อนทุบ                               3 ต้น
                    ขมิ้นหั่นยาว 2 ซม.ทุบ                          1 ชิ้น
                    เกลือป่น                                             2 ช้อนชา
                    น้ำ                                                     ½ ถ้วย

วิธีทำ
ล้างปลา ตัดหัวและควักไส้ออก เคล้าเกลือล้างให้สะอาด
ใส่น้ำมันในกระทะ ตั้งไฟพอเดือด ใส่ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ขมิ้น เดือดอีกครั้ง ใส่เกลือ ลูกปลา คั่วเบาๆ จนน้ำแห้งและปลาสุก ปิดไฟ ยกลง ตักใส่จาน เสิร์ฟ 


อบคุณข้อมูลจากhttp://goldkitchenmenu.blogspot.com/2013/04/blog-post_4098.html

อีสาน ลาบ

ลาบหมูสุโค๊ยยย



ส่วนผสมลาบหมู

เนื้อหมูส่วนสันในสับ  2  ถ้วย

น้ำมะนาว  6   ช้อนโต๊ะ

ตับหมูต้มหรือนึ่งสุกหั่นชิ้นบาง  100  กรัม

หอมแดงซอย  2  ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา  2   ช้อนโต๊ะ

พริกขี้หนูแห้งคั่วป่น   1/2   ช้อนชา

ข้าวคั่วป่นหรือขนมปังอบป่น  2  ช้อนโต๊ะ

ต้นหอมหั่นท่อนสั้น  2  ช้อนโต๊ะ

ผักชีหั่น   1    ช้อนโต๊ะ

ใบสะระแหน่   1/2   ถ้วย

พริกขี้หนูแห้งทอด   4  เม็ด

ผักกาดขาวสำหรับรองถ้วย

ผักสด เช่น ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักชี ต้นหอม


 วิธีทำอาหาร ลาบหมู

1. ขยำหมูสับกับมะนาว 4 ช้อนโต๊ะในชามให้เข้ากันดี จึงบีบเอาน้ำออก
ใส่ถ้วย เทน้ำหมูที่บีบใส่ลงในกระทะตั้งไฟกลางพอเดือด ใส่หมูสับ 
ผัดรวนพอสุก ปิดไฟตักใส่อ่างผสมใส่ตับหมู ตามด้วยหอมแดง 
(แบ่งไว้โรยหน้าเล็กน้อย) เคล้าพอทั่ว
2. ปรุงรสด้วยน้ำมะนาวที่เหลือน้ำปลา ใส่พริกป่น ข้าวคั่วหรือขนมปังป่น 
เคล้าให้เข้ากัน ใส่ต้นหอมผักชีและใบสะระแหน่ เคล้าพอทั่ว
3. ตักใส่ถ้วยที่รองด้วยผักกาดขาวโรยหอมแดงซอยที่แบ่งไว้ 
พริกขี้หนูแห้งทอด วางผักสดชนิดต่าง ๆ เสิร์ฟ

เหนือ น้ำพริกอ๋อง

น้ำพริกอ่อง สูตรดั้งเดิม เมืองเชียงใหม่

                                           


น้ำพริกอ่อง
น้ำพริกอ่อง
ส่วนผสมของน้ำพริกอ่อง
1. เนื้อหมูบด 400 กรัม
2. มะเขือเทศลูกเล็ก 20 ลูก
3. ผักชีซอย 1 ช้อนโต๊ะ
4. ต้นหอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
เครื่องแกงน้ำพริกอ่อง
1. พริกขี้หนูแห้ง 20 เม็ด
2. หอมแดง 5 หัว
3. กระเทียม 10 กลีบ
4. กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
5. เกลือ 1/2 ช้อนชา

ขั้นตอนการทำน้ำพริกอ่อง
1. โขลกพริก หอมแดง กระเทียม รวมกันให้ละเอียด
2. ใส่กะปิและเกลือ โขลกให้เข้ากัน
3. ผัดเครื่องแกงกับน้ำมัน จนมีกลิ่นหอม ใส่เนื้อหมูบด ลงผัดให้สุก เติมน้ำเล็กน้อย
4. พอเดือด ใส่มะเขือเทศ ลงผัดให้เข้ากัน ตั้งไฟต่อจนมะเขือเทศสุก ปิดไฟ


ขอบคุณข้อมูลจาก http://xn--12cm6cuaz5da9au6re2c.blogspot.com/2012/12/chili-paste-Chiang-Mai.html

เมนู อาหาร น่าทานนนน


อาหารมีหลายประเภท เราจะยกตัวอย่างอาหารน่า ทาน แต่ละภาค

มาให้คุณทางบ้านลองทำกันนนนน  


(
ภาคกลาง ก็ต้องนี่เลยยยย              มันคือ ต้มยำกุ้ง คลิ๊กที่นี่เพื่อดูวิธีทำ)
                                           






ภาคเหนือ ก็ต้องนี่เลยยย   น้ำพริกอ๋องงงงง  (คลิ๊กที่นี่เพื่อดูวิธีทำ)




ภาคอีสาน ก็ต้องนี่เลย    ลาบ  จ้า ลาบบบบ ลาบหมูููู  (คลิ๊กที่นี่เพื่อดูวิธีทำ)






ภาคใต้  ก็ต้องนี่เลย  แกงงงงไตปลาาาา        (คลิ๊กที่นี่เพื่อดูวิธีทำ)

เเนะนำเจ้าของเว็บ

                      
นางสาว ดารศาสตร์    หาหลัก      
นางสาว อาริษา   นาภูวงศ์ 
นางสาว ธิดารัตน์  นิวงษา  
 นางสาว เรืองรอง  เห็มวิพัฒน์     
นาย  ศุภสิทธิ์      ซวี  
นางสาว ขวัญฤดี   หรสิทธิ์          
             
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6/1

โรงเรียน  มอสวนขิงพิทยาสรรพ์  


นำเสนอ   



อาจารย์  รจนา   พันธุ์นิล


วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กลาง ต้มยำกุ้ง

* กุ้งขนาดกลาง 12 ตัว (ปอกเปลือก, ทำความสะอาด)
* เห็ดฟาง 10 อัน
* ตะไคร้ 1 กำ
   (ทุบให้แหลกและหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 2")
* ใบมะกรูด 3 ใบ
* เกลือ 1 ช้อนชา
* น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
* น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
* พริกขี้หนู 6 เม็ด (ทุบพอให้แหลก)
* น้ำสะอาด 4 ถ้วยตวง
* ผักชี 1/2 ถ้วยตวง (หั่นหยาบ)
สมุนไพรไทย : ตะไคร้
อาหารไทย : ต้มยำกุ้ง
 
     วิธีทำทีละขั้นตอน
1. ปอกเปลือกกุ้งออก เหลือหางไว้ (เพื่อความสวยงามเมื่อปรุงเสร็จ) จากนั้นหั่นด้านหลังกุ้งเพื่อเอาเส้นเลือดสีดำออก เสร็จแล้วนำเห็ดฟางไปล้างให้สะอาด หั่นเป็น 4 ส่วนและนำไปผึ่งให้แห้ง
2. นำน้ำเปล่าไปต้มในหม้อ จากนั้นใส่ตะไคร้, ใบมะกรูด และกุ้ง เมื่อสีกุ้งเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพู (เริ่มสุก) ใส่เห็ดที่หั่นไว้แล้วและเกลือ

3. หลังจากน้ำเดือดแล้วปิดไฟ และ้นำหม้อออกมาจากเตา ปรุงรสด้วยน้ำปลา, น้ำมะนาว และพริกขี้หนู เมื่อปรุงรสเสร็จตักเสิรฟในถ้วย ตกแต่งด้วยผักชีและเสิรฟทันที พร้อมด้วยข้าวสวยร้อนๆ

อาหารภาค อิสาน





         หากจะกล่าวถึงอาหารการกินของคนอีสาน หลายคนคงรู้จักคุ้นเคยและได้ลิ้มชิมรส กันมาบ้างแล้ว ชาวอีสานมีวถีการดำเนินชีวิต ที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการที่รับประทานอาหารอย่างง่ายๆ มักจะรับประทานได้ทุกอย่าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของภาคอีสาน ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาสิ่งต่างๆ ที่สามารถรับประทานได้ในท้องถิ่น มาดัดแปลงเป็นอาหารรับประทาน อาหารอีสานเป็นอาหารที่มีความแตกต่างจากอาหารของภาคอื่นๆ และเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายของชาวอีสาน อาหารของชาวอีสานในแต่ละมื้อจะเป็นอาหารง่ายๆเพียง 2-3 จาน ซึ่งทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักพวกเนื้อส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อวัวเนื้อควาย ความพึงพอใจในรสชาติอาหารของชาวอีสานนั้นไม่มีตายตัวแล้วแต่ความชอบของบุคคล แต่อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็ม และเปรี้ยว เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้เลย คือ ปลาร้า ซึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้า ไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา แจ่วบอง

ตัวอย่างอาหาร ภาคอิสาน

        ส้มตำ 
              ส้มตำ เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยและ ประเทศลาว ส่วนมากจะทำโดยนำมะละกอดิบที่ขูดเป็นเส้น มาตำในครกกับ มะเขือเทศลูกเล็ก ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง พริก และกระเทียม ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา ปูดองหรือปลาร้า ให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด และออกเค็มเล็กน้อย นิยมกินกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง โดยมีผักสด เช่น กะหล่ำปลี หรือถั่วฝักยาวเป็นเครื่องเคียง


อ๋อ  ลักษณะคล้ายอ่อมแต่ไม่ใส่ผัก(ใส่เพียงต้นหอม ใบมะกรูด ตะไคร้ ใบแมงลัก) นิยมใช้ปลาตัวเล็ก  กุ้ง หรือไข่มดแดงปรุง ใส่น้ำพอให้อาหารสุก





แจ่ว  คือ น้ำพริกของชาวอีสานนิยมใส่ปลาร้าสับหรือน้ำปลาร้า  บางครั้งใส่มะกอกพื้นบ้านก็เป็นแจ่วมะกอก รับประทานกับผักสด  ลวก หรือนึ่ง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันทุกบ้านในภาคอีสาน  เพราะมีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยากอ่อม  เป็นอาหารประเภทแกงแต่มีน้ำน้อยมีผัก พื้นเมืองหลายชนิดนิยมใช้กับเนื้อ ไก่และปลาหรือเนื้อกบเนื้อเขียดหรือเนื้อสัตว์อื่นๆแต่เน้นที่ปริมาณผัก




                                                                              
















ลาบ  เป็นอาหารประเภทยำที่มีเนื้อมาสับละเอียดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆบางๆปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า พริก ข้าวคั่ว ต้นหอม  ผักชี รับประทานกับผักพื้นเมือง นิยมใช้กับเนื้อปลาหมูวัวควายและไก่
                                    

อาหาร ภาคกลาง

ลักษณะเฉพาะของอาหารภาคกลาง ลักษณะเฉพาะของอาหารพื้นเมืองภาคกลางที่นับว่าเป็นลักษณะเด่นของผู้พบเห็นและรับประทาน มีลักษณะดังนี้




เป็นอาหารที่มีการประดิษฐ์ ตกแต่งสวยงาม วิจิตรบรรจง เช่น ประเภทผัก เครื่องจิ้ม จะมีการจัด แกะสลัก หรือจัดตกแต่งเป็นภาชนะสิ่งของเครื่องใช้
อาหารมักมีของแนม แกงเผ็ดมักแนมด้วยปลาเค็ม น้ำพริกลงเรือต้องแนมด้วยหมูหวาน ปลาดุกฟู ไข่เค็ม น้ำพริกมะม่วงต้องแนมด้วยปลาสลิดทอด ฯลฯ
อาหารประเภทจัดให้เข้ากับอาหารหลัก เช่น ห่อหมก ทอดมันปลา ทอดมันกุ้ง ปูจ๋า หมี่กรอบ ยำต่างๆ เครื่องจิ้ม โดยจัดให้รสชาติและสีกลมกลืนกัน
เป็นภาคที่มีอาหารว่างมากกว่าภาคอื่น เช่น ไส้กรอก ปลาแหนม ข้าวตังเมี่ยงลาว ข้าวตังหน้าตั้ง ปั้นขลิบถั่วไส้ต่างๆ สาคูไส้หมู ข้าวเกรียบปากหม้อ ฯลฯ  อาหารภาคกลาง นอกจากจัดเป็นสำรับแล้ว ยังนิยมจัดเป็นชุด เหมาะแก่ฤดูกาลและอากาศ

ตัวอย่าง อาหารภาคกลาง

1.ข้าวแช่ ประกอบด้วย ข้าวลอยในน้ำอบดอกมะลิหอม ประกอบกับเครื่องกับข้าว ได้แก่ ลูกกะปิทอด พริกหยวกสอดไส้ หัวหอมสอดไส้ชุบแป้งทอด ปลาแห้งผัดหวาน มีผักเป็นของแนม ได้แก่ มะม่วงดิบ แตงกวา กระชาย ต้นหอม




2.ขนมจีนซาวน้ำ รับประทานกับสับปะรด ขิงอ่อนซอย กระเทียมซอย กุ้งแห้งป่น กะทิข้น น้ำตาลทราย ราดด้วยพริก น้ำปลามะนาว



3.ขนมจีนน้ำพริก ประกอบด้วย ผักเหมือน ได้แก่ มะละกอสับฝอย หัวปลีหั่นแช่น้ำมะนาวไม่ให้สีดำ


4.แกงจืด หมายถึงอาหารที่มีน้ำ มีผัก มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ ตัวอย่าง เช่น แกงจืดกระดูกหมูกับฟัก ต้มกระดูกหมูกับหน่อไม้ไผ่ตงแกงจืดตำลึง แกงจืดวุ้นเส้น

5.ผัดเผ็ด เป็นรายการอาหารพื้นเมืองที่ค่อนข้างจะขาดไม่ได้ เนื่องจากรสชาติของความเผ็ด ทำให้อาหารไม่เปลี่ยน และเจริญอาหาร เหมาะสมกับผู้ที่ไม่ต้องการอาหารที่มีกะทิ การปรุงอาหารประเภทผัดเผ็ดง่ายและสะดวก เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุง ได้แก่ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อเป็ด เนื้อปลาดุก ปลาช่อน อาหารทะเล

6.น้ำพริกกะปิ การเลือกกะปิอย่างดี  โขลกกับกระเทียมประมาณ กุ้งแห้ง โขลกรวม บุบพริกขี้หนูสวน แล้วแต่ชอบเผ็ดไม่เผ็ด ใส่มะเขือพวงลูกอ่อนๆ บุบพอแตกลอย ในน้ำพริก น้ำพริกกะปิเป็นน้ำพริกพื้นฐานของน้ำพริกอื่นๆ 

7.ยำใส่กะทิหรือใส่มะพร้าวคั่ว มีหลายชนิด เช่นยำทวาย ยำถั่วพู ยำหัวปลี ยำส้มโอ ยำหนังหมู และยำผักกระเฉดนั้นจะใส่กะทิหรือไม่ใส่ก็ได้

8.งบ เป็นอาหารคล้ายห่อหมก แต่ใช้ห่อด้วยใบตอง แล้วปิ้งไฟให้แห้งด้วยไฟอ่อนๆ ใช้ถ่านหรือกาบมะพร้าว หรือใช้อบในหม้อหรือกระทะให้แห้งก็ได้เช่นกัน เนื้อสัตว์ที่มาทำงบ ได้แก่ปลา ไก่ หมู หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ หั่นหรือสับ คลุกกับพริกแกงใส่ผักประเภทใบโหระพาหรือ ใบมะกรูด งบนิยมใส่กะทิ คนโบราณใช้งบเป็นอาหารสำหรับพกพาในการเดินทางโดยใช้ข้าวผสมลงไป แล้วปิ้งให้แห้งเก็บไว้ได้หลายวันไม่เสีย










อาหารภาค เหนือ



 
ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักร
แห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดน
ต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามา
ในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วย
อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น
น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู
และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ
นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล
ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำุ์
พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน
ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน
อาหารพื้นบ้านภาคเหนือมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน
เช่น ไทใหญ่ จีนฮ่อ ไทลื้อ และคนพื้นเมือง

ตัวอย่างอาหารเมืองเหนือ
อาหารพื้นบ้านภาคเหนือมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน 
เช่น ไทใหญ่ จีนฮ่อ ไทลื้อ และคนพื้นเมือง  
          1.  น้ำพริกหนุ่ม คือพริกหนุ่ม คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ



         2.ไส้อั่ว  คำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการนำสิ่งของยัดไว้ การทำไส้อั่ว นิยมใช้ไส้หมูและเนื้อหมู การทำไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหาร ให้สามารถรับประทานได้นานขึ้น คือประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในที่เย็น หรือปัจจุบัน มีการบรรจุถุงแบบสูญญากาศ ก็เก็บไว้ได้นานมากยิ่งขึ้น การทำให้ไส้อั่วสุก จะใช้วิธีปิ้ง หรือทอดก็ได้


        
      3. น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้  บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตร ใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส
       4. แกงอ่อม  คือ    เป็นแกงประเภทที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมหลัก เช่น ปลา เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อไก่ นอกจากเนื้อแล้ว นิยมใส่เครื่องในสัตว์เป็นส่วนผสมด้วย เรียกชื่อตามส่วนผสมหลัก ได้แก่ แกงอ่อมไก่ แกงอ่อมปลา แกงอ่อมเนื้อ (แกงอ่อมจิ๊นงัว แกงอ่อมจิ๊นควาย) แกงอ่อมหมู (แกงอ่อมจิ๊นหมู) บางก็แกงอ่อมเฉพาะเครื่องใน เช่น แกงอ่อมเครื่องในวัว แกงอ่อมเครื่องในควาย

  
   5. แคบหมู  คือแคบหมู เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวล้านนา ใช้รับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น น้ำพริก ขนมจีนน้ำเงี้ยว ใช้เป็นส่วนผสมในการตำน้ำพริก หรือแกง เช่น แกงบอน แกงผักตำลึง (แกงผักแคบ) แกงหน่อไม้ แคบหมูมีทั้งชนิดติดมัน และไม่ติดมัน ที่เรียกกันว่า แคบหมูไร้มัน ชาวล้านนาดั้งเดิม นิยมรับประทานแคบหมูเป็นอาหาร มากกว่าเป็นเครื่องแนม


    
     6. แกงขนุน คือ  แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน ถือว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล บางท่านนิยมแกงกินในงานแต่งงาน เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน และในวันปากปี คือหลังวันเถลิงศก (วันพญาวัน) หนึ่งวัน บางแห่งนิยมใส่ข่า ตะไคร้ทุบ และอาจมีจักข่าน (สะค้าน) บ่าแขว่น (ผลกำจัด) โขลกใส่ลงไปในแกงด้วย


      7. แอ็บปลา  คืออาหารที่ปรุงด้วยการนำปลาสด เช่น ปลาช่อน ปลาดุก มาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง เช่นเดียวกับแอ็บอ่องออ แอ็บกุ้ง แล้วนำไปปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก

      8.แกงฮังเลหมู คือ  แกงฮังเลมี 2 ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า สำหรับแกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง งาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา และใช้เป็นส่วนผสมของแกงโฮะ

     

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของอาหารไทย


           ในอดีต อาหารไทยเป็นอาหารที่ทรงคุณค่าทั้งรสชาติของอาหารและน่าตาที่น่ารับประทาน แต่ปัจจุบันอาหรไทยได้เลือนหายไปจากจากสังคมเนื่องจากมีอาหารของต่างชาติเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย  ทำให้คนรุ่นหลงไม่รู้จักอาหารประจำชาติ  อาหารไทยไม่ได้มีเพียงเล็กน้อยแต่มีมากมากหลากหลาย    
                  วัฒนธรรมไทยเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก ทั้งในเรื่องความสวยงาม วิจิตรพิสดาร ความอ่อนช้อย แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความละเอียด พิถีพิถัน ประณีต ยากที่จะหาชาติอื่นเทียบเทียม   อาหารไทยก็เช่นเดียวกัน เพราะนอกจากรสชาติที่หลากหลายถูกปากคนชาติต่างๆแล้ว ยังมีคุณค่าทางโภชนาการ และจุดเด่นในการเป็นยารักษาโรคด้วย  
                  วัฒนธรรมกินอาหารพื้นเมืองของไทยนั้น ทำให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรงและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ อาหารพื้นเมืองของคนไทยสามารถแบ่งได้ตามภาคเป็น 4 ภาคใหญ่ๆคือ อาหารประจำภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ 
                   อาหารแต่ละภาคนั้นมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของคนในแต่ละท้องถิ่น ตามอาชีพและแหล่งอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น อิทธิพลที่อาจได้รับมาจากประเทศใกล้เคียง ทำให้อาหารในท้องถิ่นนั้นมีความแปลกไปจากอาหารไทยที่พบอยู่ทั่วไป


                                                                                         .